คลื่นวิทยุ 2 ประโยชน์ ใน 1 เดียว ลดริ้วรอยและสิว

 
 

ในปัจจุบันการทำหัตถการเสริมความงามในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการเสื่อมสภาพของผิวหนัง
(skin aging) และการรักษาปรับรูปร่างแบบไม่เกิดบาดแผล (non-invasive body contouring) กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ในอดีตแนวทางในการรักษามีหลายวิธี ตั้งแต่การผ่าตัดไปจนถึงการรักษาด้วยเลเซอร์ในกลุ่ม ablative resurfacing ซึ่งมีข้อเสียคือทำให้เกิดแผล มีระยะพักฟื้นนานและพบผลข้างเคียงมาก จึงนำมาสู่การพัฒนาเครื่องมือกลุ่มใหม่ ได้แก่ การใช้คลื่นความที่วิทยุ
(radiofrequency) ซึ่งมีข้อบ่งชี้ในการใช้หลากหลาย เช่น กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในการรักษาความเสื่อมสภาพของผิวหนัง (skin aging) หรือแผลเป็น (scar) ใช้ยกกระชับในบริเวณที่มีความหย่อนคล้อย (skin laxity) หรือการรักษาปรับรูปร่าง (body contouring) เป็นต้น

 

Radiofrequency (RF)

 

Radiofrequency (RF) คือคลื่นความถี่วิทยุซึ่งเมื่อเคลื่อนที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าและเกิดการสร้างความร้อนขึ้นในบริเวณที่ทำการรักษา มีการนำมาใช้ในวงการแพทย์ในข้อบ่งชี้หลากหลาย เช่น การนำมาผ่าตัดจี้เนื้อเยื่อ (electrosurgery) การนำมารักษาเส้นเลือดขอดโดยการจี้ผ่านภายในหลอดเลือด (endovascular RF ablation)หรือการจี้ผนังหัวใจ (cardiac catheter ablation) เป็นต้น แต่ในวงการแพทย์ผิวหนังเริ่มมีการนำ RF มาใช้ในการทำ non-ablative skin rejuvenation ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 โดยเครื่อง RF เครื่องแรกที่ได้รับอนุมัติจาก US FDA ให้ใช้ในการรักษาคือ monopolar RF (ThermaCool: Thermage, Hayward, CA)

 

Physics of RF

 

เครื่อง RF ปล่อยคลื่นความถี่วิทยุ (electromagnetic radiation) ที่มีความถี่ระหว่าง 3 KHz ถึง 300 MHz เข้าสู่เนื้อเยื่อ ทำให้มีการสั่นสะเทือนของโมเลกุล (oscillating molecules) เหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างกระแสไฟฟ้าวิ่งวนในเนื้อเยื่อที่มีแรงเสียดทาน (tissue impedance) จนเกิดการสร้างความร้อนขึ้นในที่สุด (thermal energy) โดยปริมาณของพลังงานความร้อนที่ผลิตได้ขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้า (current amps), ความต้านทานของเนื้อเยื่อ (tissue impedance; ohms) และระยะเวลาที่สัมผัส (time; seconds) เนื้อเยื่อที่มี tissue impedance เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ กระดูก, ไขมัน, ผิวที่แห้ง, เส้นประสาท, ผิวที่เปียก, กระดูกอ่อนและกล้ามเนื้อ ตามลำดับ กรณีที่เนื้อเยื่อที่มี ความต้านทานสูงจะทำให้กระแสไฟฟ้าผ่านทะลุไปไม่ได้ เกิดกระแสวิ่งวนอยู่ในเนื้อเยื่อ ส่งผลให้มีความร้อนสะสมในเนื้อเยื่อที่มีความต้านทานสูงมากกว่าเนื้อเยื่อที่มีความต้านทานต่ำ หากพิจารณา RF เหมือนเครื่องไมโครเวฟที่ใช้อุ่นอาหารให้ร้อน สิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำทุกครั้ง คือการตั้งค่าพลังงานความร้อน, การตั้งเวลาที่ต้องการอุ่นอาหาร และใส่อาหารที่ต้องการอุ่นเข้าไปในเครื่องไมโครเวฟ

 

ปัจจัยที่กำหนดความลึกของ RF

 

คือ ความถี่ของกระแสไฟฟ้า (frequency), ชนิดของขั้ว (electrode), ชนิดของตัวนำ (conduction medium) และอุณหภูมิ (temperature) โดยอุณหภูมิที่เย็นลงทุก 1 องศาเซลเซียส จะเพิ่ม skin impedance ขึ้นร้อยละ 2 จากที่กล่าวมาข้างตัน เนื่องจากผิวหนังของคนเรามีหลายชั้นแต่ละชั้นมีความต้านทานของเนื้อเยื่อแตกต่างกันหากต้องการให้ RF ผ่านทะลุผิวหนังลงไปได้ดีขึ้นควรเตรียมผิวโดยการใช้สารหล่อลื่นเคลือบผิว (coupling fluid) เนื่องจากผิวที่เบียกมีแรง ด้านทานต่ำกว่าผิวที่แห้ง ทำให้ RF ทะลุผ่านไปได้ดีกว่าผิวที่แห้ง นอกจากนี้การลดอุณหภูมิผิวหนังด้านบนจนต่ำมากเกินไป ก็อาจทำให้ RF ทะลุผ่านผิวหนังได้แย่ลง ถ้าใช้พลังงานที่สูงก็จำเป็นต้องปกป้องผิวหนังด้านบนด้วยความเย็น

จุดเด่นของ RF เมื่อเทียบกับเลเซอร์ คือ ไม่ได้ใช้หลักการของ selective photothermolysis ดังนั้นเมื่อปล่อยคลื่นความถี่วิทยุเข้าสู่ผิวหนังจะไม่มีการกระจาย (diffraction), การกระเจิง (scattering) หรือมีการจับ (absorption) กับ chromophore แบบเลเชอร์ RF จึงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยทุกสีผิว และสามารถควบคุมความลึกของพลังงานได้มากกว่าการใช้เลเซอร์

 

กลไกการทำงาน

 

เมื่อทำการรักษาด้วย RF พลังงานจะเข้าสู่บริเวณผิวหนังที่ทำการรักษาเกิดปฏิกิริยาของเนื้อเยื่อ (tissue reaction) ได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน (immediate reaction) และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายหลัง (delayed reaction)

 

Immediate reaction ความร้อนที่ พอเหมาะ (ประมาณ 57-61 องศาเซลเซียส)ในเวลาที่เหมาะสม (ประมาณ 10 นาที) ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำ RF จะทำให้เกิดการทำลายพันธะไฮโดรเจนที่เชื่อมระหว่างสายโปรตีนในโครงสร้างของคอลลาเจน ส่งผลให้มีการหดตัวของเส้นใยคอลลาเจนและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ของผิวหนัง (นึกถึงการตุ๋นไข่) นอกจากนี้ RF ยังเพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดในบริเวณที่ทำการรักษา และกระตุ้นการเผาผลาญพลังงานในเซลล์ไขมัน (adipocyte) อีกด้วย โดยระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการหดตัวของคอลลาเจนนั้น แปรผกผันกับปริมาณของอุณหภูมิที่เกิดขึ้นจากการทำ RF กล่าวโดยสรุปคือ หากใช้พลังงานในการทำสูง ก็ใช้เวลาในการทำสั้นลงเพื่อให้เกิดการหดตัวของคอลลาเจน (และพลังงานที่สูงอาจทำให้ผิวภายนอก burn ได้)

 

Delayed reaction ภายหลังทำ RF จะเกิดกระบวนการซ่อมแชม (wound healing) และเกิดการกระตุ้นการสร้าง collagen, elastin และ ground substance ใหม่ ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง ทำให้เกิดการหดตัวยกกระชับของบริเวณที่ทำการรักษา ในปี ค.ศ. 2015 มีการศึกษาทางจุลกายวิภาคของผิวหนังหลังทำการรักษาด้วย monopolar RF เปรียบเทียบกับ high-intensity focused ultrasound (HIFU) (4.5 mm-depth headpiece) ที่ระยะเวลา 2 เดือน พบว่าการรักษาด้วย RF ทำให้เกิดการสร้างคอลลาเจนใหม่ (neocollagenesis) ในชั้น papillary dermis, upper, mid และ deep
reticular dermis และทำให้เกิดการสร้างอีลาสตินใหม่ (neoelastogenesis) ในชั้น papillary dermis, upper และ mid reticular dermis
ในขณะที่ HIFU ทำให้เกิด neocollagenesis ในชั้น mid และ deep reticular dermis และ ทำให้เกิด neoelastogenesis ในชั้น deep reticular dermis เท่านั้น จะเห็นได้ว่า RF ทำให้เกิดการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินในพื้นที่กว้าง แต่ลงได้ตื้นกว่า ในขณะที่ HIFU ทำให้เกิดการสร้างเจาะจงเฉพาะส่วนในชั้นลึก จึงมีการปรับใช้เครื่อง monopolar RF ทำพร้อมกับ HIFU เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและเร่งการสลายไขมันในชั้นลึก และเป็นการลดผลข้างเคียงของการใช้ monopolar RF ในพลังงานที่สูงเกินไป และ ช่วยลดความเจ็บของ HIFU ไปด้วยเช่นกัน แต่ยังให้ได้ผลการการรักษาที่ดี

ข้อบ่งชี้ในการทำ RF

- Electrosurgery ใช้ในการผ่าตัด หรือการจี้เนื้อเยื่อ

- Non-invasive skin tightening ใช้ในการรักษาการเสื่อมสภาพของผิวหนัง (skin aging) เช่น ภาวะหย่อนคล้อยของผิวหนัง (skin laxity), ริ้วรอย (wrinkle) เป็นต้น

- Body contouring ใช้ในการรักษาปรับรูปร่างโดยการทำให้ชั้นไขมันบางตัวลง

- Cellulite reduction ใช้ในการรักษาผิวไม่สม่ำเสมอจากการดึงรั้งของพังผืดในชั้นไขมัน

 

ข้อห้ามในการทำ RF

 

- หญิงตั้งครรภ์
- บุคลลที่มีอุปกรณ์ electronic หรือใส่ metallic implant ภายในร่างกาย Collagen-vascular disorder
- Active or recent malignant disease
- Heat-stimulated disease
- Coagulopathy
- Use of isotretinoin (ยังเป็นที่สรุปไม่ได้)

 

เครื่องมือ RF devices มีอะไรบ้าง

 

เครื่อง RF มีหลายประเภท โดยความแตกต่างของแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับจำนวน electrode, ลักษณะการวิ่งของคลื่นความถี่วิทยุ และการต่อ ground pad ที่ตัวผู้ป่วย โดยเครื่องแต่ละประเภทมีความสามารถในการวิ่งทะลุผ่านเนื้อเยื่อแตกต่างกัน 

 

Monopolar RF เป็นเครื่องที่มี 1 electrode ต่อที่ handpiece และมีแผ่น ground pad ต่อกับตัวผู้ป่วย โดย RF ชนิดนี้จะวิ่งลงจาก electrode ผ่านลำตัวของผู้ป่วยไปที่ ground pad ทำให้ RF ชนิดนี้มีความสามารถในการวิ่งผ่านเนื้อเยื่อได้ลึกที่สุดเมื่อเทียบกับชนิดอื่น แต่มีข้อเสียคือ อาจมีความเจ็บปวดได้มากระหว่างทำการรักษา โดยลักษณะการปล่อยพลังานอาจมีแบบปล่อยเป็นช่วงสั้น (stamped mode เช่น เครื่อง Thermage (Solta Medical,Hayward,CA) เป็นต้น หรือปล่อยเป็นช่วงยาวต่อเนื่อง เช่น เครื่อง Exilis (BTL, Prague,CR) AcGen (Jeisys Medical Inc,Seoul,Korea) โดย monopolar RF จะส่งผลทำให้เกิด volumetric heating ตั้งแต่ผิวชั้นบนลงไปถึงชั้นใต้ผิวหนังประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ซึ่งแตกต่างจากเทคโนโลยีในกลุ่มคลื่นเสียงความถี่สูง (high-intensity focused uttrasound) ที่จะทำให้เกิดความร้อนเฉพาะจุดเรียงเป็นชั้นใต้ผิวหนัง (thermal coagulation point,TCP) นอกจากนี้ปัจจุบันมีการพัฒนา RF ในรูปแบบการสอดหัว electrode เข้าไปภายใต้ผิว แล้วปล่อยพลังงานเข้าไปใต้ผิวหนังและชั้นไขมัน ทำให้เกิดการหดกระชับ ที่เรียกว่า controlled subdermal tissueheating ซึ่งต้องมีการตรวจวัดอุณหภูมิของผิวหนังผ่านกล้องอินฟราเรดตลอดระยะเวลาการทำ

 

Unipolar RF เป็นเครื่องที่มี 1 electrode ต่อที่ handpiece ไม่มีแผ่น ground pad โดย RF ชนิดนี้แตกต่างจาก monopolar RF ตรงที่ปล่อย electromagnetic radiation ความถี่สูง (40 MHz) ออกไปรอบทิศทางคล้ายการกระจายสัญญาณของเสาวิทยุ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน
ของโมเลกุลน้ำในเนื้อเยื่อ และเกิดความร้อนในที่สุด โดยสามารถปล่อยคลื่นความถี่วิทยุลงไปใต้ผิวประมาณ 15-20 มิลลิเมตร มักใช้ในการรักษา cellulite เช่น เครื่อง Accent RF (Alma Lasers, Caesarea, Israel) เป็นต้น

 

Bipolar RF เป็นเครื่องที่มี 2 electrode ได้แก่ ขั้วบวกและขั้วลบ ใน 1 handpiece ไม่มีแผ่น ground pad ต่อที่ตัวผู้ป่วย โดย RF ชนิดนี้จะวิ่งจากขั้วบวกไปขั้วลบ ความลึกที่สุดที่ลงได้ คือครึ่งหนึ่งของระยะห่างระหว่าง electrode 2 หัว มักไม่เกิน 1-4 มิลลิเมตร จากผิวหนังเช่น เครื่อง eMatrix (Syneron/Candela,San Jose, CA), Titefx (Invasix, Yokneam, Isareal) เป็นต้น RF ชนิดนี้มักจะผนวกรวมกับเทคโนโลยีอื่นเพื่อให้ประสิทธิภาพในการรักษาตีขึ้น 

 

Multipolar RF เป็นเครื่องที่มีตั้งแต่ 3 electrode ใน 1 handpiece โดยจะมี 1 ขั้ว เป็นขั้วบวก ที่เหลือเป็นขั้วลบ โดยที่ RF จะวิ่งจากขั้วบวกไปที่ขั้วลบหัวต่าง ๆ โดยไม่มีแผ่น ground pad ต่อที่ตัวผู้ป่วย RF ชนิดนี้ลงได้ไม่ลึกมากเท่า monopolar RF นิยมนำมาใช้รักษาปรับรูปร่าง และลด cellulite 

 

Fractional RF เป็นเทศโนโลยีในกลุ่ม bipolar RF ลักษณะ headpiece ของบางเครื่องอยู่ในรูปแบบแผ่น electrode ขนาดใหญ่ที่วางนาบไปกับผิวของผู้ป่วย หรืออาจมาในรูปแบบเข็มขนาดเล็ก (microneedle) ซึ่งสามารถแทงทะลุผ่านผิวหนังลงไปปล่อยคลื่นความถี่วิทยุและทำให้เกิดความร้อนเป็นจุดขนาดเล็ก
ภายใต้ผิวหนัง เรียกว่า radiofrequency thermal zone (RFTZ) ซึ่งคล้ายกับหลักการรักษาด้วยเลเซอร์กลุ่ม fractional ablative หรือ non-ablative resurfacing ที่ทำให้เกิดmicrotreatment zone (MTZ) โดยจะไม่เกิดการบาดเจ็บต่อผิวหนังบริเวณข้างเคียงที่ไม่ได้รับการรักษา โดยมีทั้งเข็มชนิดที่เคลือบฉนวน (insulated needle) ซึ่งจะป้องกันการปล่อยพลังงานบริเวณ epidermis และเข็มชนิดไม่เคลือบฉนวน (non-insulated needle) ซึ่งจะปล่อยพลังงานตั้งแต่ชั้น epidermis ลงมา

 

เรานำ RF มารักษาอะไรบ้าง?

 

ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ RF ชนิดต่าง ๆ จำนวนมาก 

 

Monopolar, bipolar, multipolar RF

- Skin rejuvenation (tissue tightening effect) โดยผู้ป่วยที่เหมาะสมคือ คนที่ยังมีการเสื่อมสภาพของผิวยังไม่มาก (mild to moderate skin laxity) อายุอยู่ในช่วง 30-60 ปี
- Non-invasive body contouring
- Cellulite reduction
- Acne vulgaris
 

Fractional RF

- Skin rejuvenation (tissue tightening effect)
- Scar

 

ผลข้างเคียงที่พึงระวัง

 

1. อาการแดง (erythema) และบวม(edema) เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยมาก
ที่สุด โดยร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่มี erythema มักจะหายได้เองภายใน 5-20 นาที มีเพียงร้อยละ 5 ที่จะมีปฏิกิริยานานเกิน 24 ชั่วโมง ส่วน edema สามารถพบได้เช่นกัน มักจะหายภายใน 24 ชั่วโมง มีส่วนน้อยที่เป็นนานเกิน 1 สัปดาห์

 

2. ผลข้างเคียงต่อหนังกำพร้า (epidermal injury) เนื่องจาก
- ความร้อนสูงเกินไป (excessive heating)
- พลังงานสูง (high energy setting) อาจเกิดจากการตั้งค่าพลังงานสูงจนเกิน ทำให้เกิดความร้อนสะสมขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดผลข้างเคียงต่อ epidermis ด้านบน
- ระยะเวลาที่สัมผัส RF นาน (long exposure time) ถึงแม้ว่าจะใช้พลังงานต่ำ แต่ถ้าทำซ้ำที่เดิมเป็นระยะเวลานาน ก็อาจทำให้เกิดความร้อนสะสมที่ epidermis สูงขึ้น ทำให้เกิดอาการ burn ได้
- การฉีดยาชาเข้าไปในเนื้อเยื่อปริมาณมากอาจส่งผลให้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ tissue impedance ทำให้เกิดความร้อนสะสมเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้การฉีด nerve block อาจส่งผลให้ ผู้ป่วยไม่สามารถตอบสนองต่อความเจ็บปวดที่มากผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อ epidermis ได้เช่นกัน
- การติดแผ่น ground pad ไม่แนบสนิทกับผิวหนัง อาจทำให้เกิดการไหลเวียนของกระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ และอาจทำให้เกิดผิวไหม้บริเวณที่ติดแผ่น ground pad ได้

- ความบกพร่องของหัวยิง (tip defect) ก่อนทำการรักษาแนะนำให้ตรวจสอบรอยตำหนิที่หัวยิงทุกครั้ง เนื่องจากความผิดปกติของหัวยิงจะทำให้พลังงานที่ปล่อยลงมาไม่สม่ำเสมอ อาจทำให้เกิดความร้อนบริเวณผิวหนังมากเฉพาะจุด
- วางหัวไม่แนบ (improper contact) ในขณะที่ทำ RF หากวาง headpiece ไม่แนบสนิทกับผิวจะทำให้การส่งผ่านพลังงานมากขึ้นเฉพาะจุดที่สัมผัสกับผิวหนัง ทำให้เกิดการไหม้ของผิวได้
- สารหล่อลื่นผิวไม่เหมาะสม (improper coupling fluid) หากใช้สารหล่อลื่นที่มีความสามารถในการนำกระแสไฟฟ้าไม่ดี จะทำให้ความร้อนรวมตัวอยู่บริเวณหัวยิงด้านบน ทำให้เกิดการไหม้ของผิวได้
- ผู้ป่วยผิวเข้ม มีข้อควรระวังในการใช้เครื่อง RF ที่ผนวกรวมกับเทคโนโลยีอื่น เช่น intense pulse light หรือ diode เป็นต้น เนื่องจากสามารถแย่งกับกับเม็ดสีในผิวหนัง ทำให้เกิด epidermal injury ได้

 

3. Fat necrosis การตั้งค่าพลังงาน RF สูงเกินไป อาจส่งผลทำให้เกิดการตายของชั้นไขมัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการยุบตัวของชั้นไขมัน (fat atrophy) ได้ ในทางปฏิบัติอาจมีการนำหลักการนี้มาใช้ในการรักษาปรับรูปหน้าผู้ป่วยที่ต้องการทำให้ไขมันบริเวณใบหน้าลดลงได้ แต่ควรตั้งพลังงานด้วยความระมัดระวัง

 

4. Scarring จากที่กล่าวมาข้างต้น หากเกิดการบาดเจ็บของผิวหนังมากลงมาถึงชั้นหนังแท้ย่อมทำให้เกิดแผลเป็นในบริเวณที่เกิดผลข้างเคียงตามมาได้ ทั้งแผลเป็นชนิดยุบตัว (atrophicscar) และแผลเป็นนูน (hypertrophic scar) 

 

สรุป

Radiofrequency เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการรักษาการเสื่อมสภาพของผิวหนังที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง สามารถทำได้ทั่วทุกตำแหน่งของใบหน้าและลำตัว RF มีหลายประเภทชนิดที่เป็นที่นิยมและลงลึกมากที่สุดคือ monopolar RF และเป็นการรักษาที่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ผู้ป่วยควรตั้งความคาดหวังที่อยู่บนรากฐานของความเป็นจริง ท้ายที่สุดแล้วการรักษาด้วย RF เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีกลุ่มอื่นร่วมด้วย เพื่อให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้น