การเลือกเจลล้างหน้าสำหรับผิวแพ้ง่าย

 
 

Cleansers

ผลิตภัณฑ์ชำระล้างถูกพัฒนามาเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก เหงื่อไคล ครีมและเครื่องสำอางไขมันส่วนเกินจากร่างกาย และช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคและโรคติดต่อ โดยสิ่งสกปรกเหล่านี้ละลายอยู่ในชั้นไขมันที่อยู่บนผิวหนัง การล้างด้วยน้ำจึงไม่สามารถกำจัดสิ่งสกปรกบนไขมันส่วนเกินเหล่านี้ได้ จึงนำมาสู่การพัฒนาของสบู่

 

Soaps

หรือ สบู่ก้อน ในทางเคมีสบู่ประกอบด้วย เกลือของกรดไขมัน (fatty acid salt) ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างเกลือ (alkal)และไขมัน (fat)' โดยไขมันอาจมาจากพืชหรือสัตว์ (รูปที่ 18.1) มี pH ระหว่าง 9-10 โดยสขู่จะละลายไขมัน สิ่งสกปรกบนผิวหนัง แล้วสามารถล้างออกไปด้วยน้ำ มีคุณสมบัติในการชำระล้างที่ดี แต่ทำให้ค่า pH ของผิวหนังซึ่งปกติอยู่ที่ 5.4 สูงขึ้นหลังจากการใช้สบู่ ส่งผลให้เกิดการทำลายของชั้นผิวหนังด้านนอก อาจทำให้ผิวแห้ง เกิดการระค่ายเคืองผิวได้ จึงนำมาซึ่งความพยายามของการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่สามารถทำความสะอาดและคงความชุ่มชื้นของผิวหนัง

 

Syndets soaps, soapless soap (synthetic detergents)

หรือสบู่สังเคราะห์ เช่น sodium cocoyl isethionate เป็นสบู่ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อลดการทำลายผิวของสบู่ มีส่วนผสมของสบู่น้อยกว่าร้อยละ 10 ค่า pH ของ syndets soaps อยู่ระหว่าง 5.5-7.0 ซึ่งใกล้เคียงกับ pH ของผิวหนังจึงทำลายชั้นผิวหนังน้อย เหมาะกับคนที่มีผิวแห้งหรือมีผื่นผิวหนังอักเสบ อาจอยู่ในรูปแบบก้อนหรือของเหลว โดยมีสารลดแรงตึงผิวในสบู่ (surfactant) เป็นตัวชะล้างสิ่งสกปรกและไขมันส่วนเกินบนผิวหนัง หลักการทำงานของ surfactant คือ ส่วนหัวที่ชอบน้ำ
จับกับน้ำ (hydrophilic) ส่วนหางที่ชอบน้ำมัน (hydrophobic) จับกับสิ่งสกปรกพวกไขมันที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ ทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกไปแขวนลอยอยู่ในน้ำ โดย anionic surfactant จะทำความสะอาดได้ดีที่สุดแต่จะทำให้ผิวแห้งมากที่สุด รองมาคือ amphoteric surfactant ทำความสะอาดได้น้อยกว่าแต่ระคายเคืองผิวน้อยกว่า ส่วน nonionic surfactant จะระคายเคืองผิวน้อยที่สุด ซึ่งความสามารถในการชำระล้างเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการสูญเสียน้ำที่ผิวหนัง

 

Combars

เป็นสบู่ที่ผสมระหว่างสบู่และสบู่สังเคราะห์ มีค่า pH 9-10 มีคุณสมบัติที่อ่อนโยนกว่าสบู่ แต่ชำระล้างได้ดีกว่าสบู่สังเคราะห์เหมาะกับผิวธรรมดา

 

นอกเหนือจาก surfactant ที่เป็นส่วนประกอบหลักของสบู่แล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ อีก คือ

 

- Moisturizers สารให้ความชุ่มชื้น เนื่องจากการชำระล้างจะทำให้สูญเสียไขมันที่ผิวหนัง จึงมีความจำเป็นที่จะใส่สารให้ความชุ่มชื้น เช่น lanolin, glycerin, mineral oil, vegetable fats เป็นต้น แต่สารให้ความชุ่มชื้นเหล่านี้ก็อาจถูกชะล้างออกไปบ้าง จึงควรทาครีมทาผิวที่ให้ความชุ่มชื้นหลังจากการทำความสะอาดผิว
- Preservatives สารกันเสีย
- Coloring agents สารให้สี
- Fragrances น้ำหอม
- Antibacterial substances โดยสารต้านเชื้อแบคที่เรียที่ใช้บ่อยในผลิตภัณฑ์ชำระล้างทั้งแบบก้อนและของเหลวคือ ไตรโคลชาน(triclosan) ปัจจุบันนิยมใช้เป็น benzalkonium chloride โดย triclosan ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไขมันในการผลิตผนังเชลล์ของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ลดเชื้อแบคที่เรียบนผิวหนังและลดกลิ่นเหม็นได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559ในประเทศสหรัฐอเมริกาห้ามใช้ triclosan ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสำหรับผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวชนิดอื่น ๆ ที่ผลิตมาแบบมีคุณสมบัติเฉพาะตัว มีการใส่สารเติมแต่งเป็นพิเศษ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจทางการตลาด เช่น สูตรที่ช่วยขัดเซลล์ผิว โดยใช้สารเคมี (chemical exfoliant) เช่น salicylic acid หรือ glycolic acid เป็นต้น สูตรที่รักษาสิว อาจใส่ benzoyl peroxide หรือ salicylic acid การขัดเซลล์ผิวอาจใส่อนุภาคละเอียดที่ช่วยขัดผิวหนังโดยตรง (mechanical exfoliation) เช่น polyethylene beads, aluminium oxide, sodium tetra-borate decahydrate granules เป็นต้น

 

สรุป

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวมีการพัฒนาโดยการใส่สารเติมแต่งเพื่อให้เกิดคุณสมบัติเฉพาะตัวมากมาย เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในท้องตลาด แต่วัตถุประสงค์หลักของผลิตภัณฑ์ก็ยังคงเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรก ไขมันส่วนเกินโดยไม่ทำลายผิวหนัง

 
 

แสดงระดับการระคายเคืองของสารลดแรงตึงผิวที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า

ความรุนแรงของการระคายเคือง สารลดแรงตึงผิว
ระคายเคืองมาก

Benzalkonium chloride
Bromide

Dodecyl trimethyl ammonium

Linear akyl benzene sulfate

Sodium lauryl sulfate

Sodium dodecyl sulfate

Sodium akyl sulfate

Sodium or potassium cocoate

Sodium or potassium tallowate

Sodium palmitate

Sodium or potassium stearate

Sodium olefin sulfonate

Triethanolamine laurate

ระคายเคืองปานกลาง

Sodium ethoxylates

Sodium laureth sulfate

Ammonium laureth sulfate

ระคายเคืองน้อย

Sodium cocoyl isethionate

Sodium akyl glycerol ether sulfonate

Sodium cocoyl sulfosuccinate

Disodium stearyl sulfosuccinate

*ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ cosmetic dermatology and lasers สาขาวิชาโรคผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี

 

จากตาราง สารลดแรงตึงผิวที่เป็นประจุบวก (มีความสามารถในการชำระล้างได้ดี) ก็มีหลายประเภท และแบ่งเป็นระคายเคืองมากไปน้อย สามารถสังเกตตามฉลากที่ติดอยู่ข้างผลิตภัณฑ์ ถ้าใครแต่งหน้า ผิวเป็นสิว แต่ก็ผิวแพ้ง่ายด้วยโดยสรุปแนะนำให้ใช้สารลดแรงตึงผิวประจุบวกที่ระคายเคืองน้อยตามตารางแถวสุดท้ายค่ะ